หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

(ชื่อเต็ม): ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์สุขภาพ)

(ชื่อย่อ) : ปร.ด. (วิทยาศาสตร์สุขภาพ)

  1. มีความสามารถในการเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์ที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการและมีคุณธรรมจริยธรรมสูง สามารถวิเคราะห์ ประเมิน และพัฒนาความรู้ใหม่ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทั้งความรู้ในเชิงวิชาการที่บูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น  และความรู้เชิงนโยบายและการปฏิบัติในการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทย รวมทั้งประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มีปัญหาคล้ายคลึงกันโดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ในศาสตร์เฉพาะด้านนั้นๆ
  2. มีความสามารถในการศึกษาวิจัยและสามารถสร้างนวัตกรรมที่เป็นองค์ความรู้ใหม่
    ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากลและก่อผลกระทบต่อสังคมสูง  โดยเฉพาะ ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และประชาสังคมได้อย่างยั่งยืน

ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาสารคามว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และมีคุณสมบัติเพิ่มเติมตามประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่องเกณฑ์การรับนิสิตเข้าศึกษาต่อระดับปริญญามหาบัณฑิตแผน ก แบบ ก 1 และระดับดุษฎีบัณฑิต แบบ 1.1 และ 1.2 แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้

แบบที่ 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่

1. หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต แบบ 1.1 (ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ ซึ่งมีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต)

(1) มีค่าระดับขั้นเฉลี่ยสะสมระดับปริญญามหาบัณฑิต ไม่น้อยกว่า 3.50
(2) มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลดัชนีการอ้างอิง วารสารไทย (TCI) ฐานข้อมูลระดับชาติหรือข้อมูลระดับนานาชาติอย่างน้อย 2 เรื่อง หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต หรือระดับปริญญาตรี
(3) เสนอเค้าโครงวิจัย (Research Proposal) ที่สอดคล้องกับทิศทางของ สาขาวิชาและได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรือคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ เค้าโครงวิจัยที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะแต่งตั้ง

2. หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต แบบ 1.2 (ผู้เข้าศึกษาสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี จะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต) ต้องเป็นผู้ที่

(1) มีค่าระดับขั้นเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรี โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.25 กรณีที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสะสมน้อยกว่า 3.25 จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติพิเศษตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนดโดยพิจารณาจากผลการสอบและผลงานทางวิชาการอื่นประกอบ
(2) มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงสารไทย
(TCI) ฐานข้อมูลระดับชาติ หรือฐานข้อมูลระดับนานาชาติ อย่างน้อย 2 เรื่อง หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
(3) เสนอเค้าโครงวิจัย (Research Proposal) ที่สอดคล้องกับทิศทางของสาขาวิชาและได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรือคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติเค้าโครงวิจัยที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะแต่งตั้ง

แบบที่ 2 เป็นแผนการศึกษาที่มีแผนการเรียนและเน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูงและก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ

แบบ 2.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า3.25 หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.25 และมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีคุณภาพ จะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษาในรายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
แบบ 2.2 ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.25 กรณีที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสะสมน้อยกว่า 3.25 จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติพิเศษตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนดโดยพิจารณาจากผลการสอบและผลงานทางวิชาการอื่นประกอบ จะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และศึกษาในรายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต

ผู้เข้าศึกษาที่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 1- 2 อาจได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต แบบ 1.1 แบบ 1.2 แบบ 2.1 หรือแบบ 2.2 ได้โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
ทั้งนี้ กำหนดให้คัดเลือกผู้เข้าศึกษาโดยใช้วิธีการสอบข้อเขียนและ/หรือสอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ส่วนกรณีอื่นๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และจะต้องมีผลการสอบทักษะภาษาอังกฤษ เป็นไปตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาสารคามว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

แบบ 1.1 ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

แบบ 1.2 ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต

แบบ 2.1 ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

แบบ 2.2 ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต

หมวดรายวิชา หลักสูตรที่เสนอ(หน่วยกิต) 
แบบ 1.1 แบบ 1.2 แบบ 2.1 แบบ 2.2
1. หมวดรายวิชา

1.1 หมวดวิชาแกน

 

 

 

9

 

9

12. หมวดวิชาเฉพาะสาขา

1.2.1 กลุ่มวิชาบังคับ

1.2.2 กลุ่มวิชาเลือก

 

 

 

 

 

 

 

3

 

9

6

2. หมวดประสบการณ์วิจัย

วิทยานิพนธ์

 

48

 

72

 

36

 

48

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

48 72 48 72
  1. อาจารย์
  2. นักวิจัย
  3. นักวิทยาศาสตร์
  4. นักวิชาการ

โดยสามารถเข้าทำงานในหน่วยงานของภาครัฐหรือเอกชนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์คลินิกและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ